19.10.62

บทที่8 ระบบ AS/RS

บทที่8 ระบบ AS/RS

ระบบ AS/RS

          ระบบการจัดเก็บสินค้าและเรียกคืนสินค้าอัตโนมัติAutomated Storage/Retrieval System (AS/RS)
 คือ ระบบบริหาร การจัดเก็บสินค้า เก็บวัตถุอัตโนมัติเหมาะกับบริษัทที่ต้องการลดการใช้งานพื้นที่ หรือต้องการเพิ่ม ปริมาณในการจัดเก็บมากขึ้น เช่น คลังสินค้า, โกดังสินค้า, อาคารจอดรถอัตโนมัต, ห้องเก็บสมุดอัตโนมัติเป็นต้น

ระบบ ASRS จะมีการทำงานควบคู่อัตโนมัติอย่างเป็นระบบอยู่ 2 ส่วน คือ
ฮาร์ดแวร์ ใช้เทคโนโลยีโรบอทอัตโนมัติกับซอร์ฟแวร์ที่ สามารถพัฒนา นำไปใช้ได้กับทุกพื้นที่

ประโยชน์ที่จะได้รับ
          ลดพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้า, ลดพื้นที่ในการขนถ่ายสินค้า, เพิ่มปริมาณการจัดเก็บสินค้า, เพิ่มประสิทธิภาพในการเบิกจ่ายสินค้า, ทำงานรวดเร็ว แม่นยำ, บริหารทรัพยากรบุคคล, ประหยัดพลังงานไฟฟ้า

      



                 


         




บทที่ 7 ระบบขนถ่ายวัสดุอัตโนมัติ

บทที่ 7 ระบบขนถ่ายวัสดุอัตโนมัติ

บทที่ 7 ระบบขนถ่ายวัสดุอัตโนมัติ

สายพานลำเลียง  Belt Conveyor
       คือ ระบบสายพานลำเลียงที่ใช้สายพานเป็นวัสดุประเภท PVC, PU หรืออาจเป็นวัสดุอื่นๆ ที่เป็นฟู้ดเกรด (Food Grade) เมื่อใช้กับอาหาร, สายพานประเภทนี้จะเป็นที่นิยมใช้งานโดยทั่วไป เนื่องจากใช้ลำเลียงวัตถุได้หลากหลายประเภท รวมทั้งอาหาร พื้นผิวของสายพานจะมีทั้งแบบผิวเรียบ ผิวไม่เรียบ และแบบที่ติดโปรไฟล์กั้นเป็นบล็อคๆ สามารถใช้ลำเลียงได้ทั้งในแนวระนาบ และลาดชัน

    ระบบโซ่ลำเลียง
       ชุดสายพานโซ่มักจะใช้ขนถ่ายวัสดุที่เป็นก้อน หรือชิ้น ห่อ ส่งได้ทั้งในแนวระนาบและแนวลาดที่รับแรงกระแทกจากโหลดวัสดุได้ดี ใช้งานได้ดีโดยไม่ต้องตรวจตราบ่อย สามารถส่งชันขึ้นได้มากกว่าระบบโซ่แขวนใช้มากกับงานขนถ่ายที่ขนติดต่อกันเรื่อยไปอย่างสม่ำเสมอ ไม่เหมาะกับการขนถ่ายวัสดุปริมาณมวล
     - สายพานข้อโซ่ (Chain Link Conveyor)
     - สายพานแผ่นโซ่ (Chain Plate Conveyor)
     - สายพานรางกวาด (Chain Flight Conveyor)

     - ระบบโซ่แขวนลำเลียง (Overhead Chain Conveyor)






 ระบบสายพานลำเลียง 
     ระบบสายพานลำเลียง ใช้สำหรับขนถ่ายวัสดุปริมาณมวล และวัสดุก้อนโต หรือหีบห่อ ทั้งในแนวราบและแนวลาดเอียง สร้างได้หลายลักษณะ คือ แบบติดตาย-เคลื่อนย้ายที่ได้ หรือสายพานแบบราบ-สายพานแบบแอ่ง มีขีดความสามารถสูง ระยะทางขนถ่ายได้ไกล สร้างได้ง่าย ไม่ต้องการงานบำรุงรักษามากนัก ความสึกหรอต่ำและใช้กำลังขับค่อนข้างต่ำ ข้อจำกัดที่สำคัญได้แก่ความชันลาดขึ้นของสายพาน หากจะต้องขนถ่ายที่ความชันราบถึง 45 องศา จะต้องสร้างผิวสายพานให้มีแผ่นกั้นวัสดุไหล และไม่ควรใช้ขนถ่ายวัสดุที่กำลังร้อน

Related image



 ระบบสายพานลำเลียงแบบแผ่นระนาด เป็นระบบที่สามารถรองรับชิ้นงานที่มีน้ำหนักมากและมีจำนวนมาก รวมถึงระบบนี้ยังมีความทนทานสูง เนื่องจากแผ่นระนาดทำด้วยวัสดุอย่างดี และตัวโครงสร้างก็ทำจากเหล็กคุณภาพสูง ทำให้ไม่ต้องเสียค่าใข้จ่ายในการซ่อมบำรุงบ่อยๆ





 ระบบสายพานลำเลียง   Daifuku สามารถออกแบบการจัดเรียงได้หลายรูปแบบเพื่อให้เหมาะกับตำแหน่งของการจัดส่งและการผลิต ซึ่งจำนวนและปริมาณจะมีขนาดเล็กลงเพื่อสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลายและซับซ้อน ผลิตภัณธ์ของเราไม่ได้พัฒนาเพียงแค่ประสิทธิภาพอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีบริการจัดส่งที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพว่าสินค้าจะไม่ได้รับความเสียหาย นอกจากนี้ เรายังมีระบบขนส่งที่ตรงตามความต้องการให้อุปกรณ์กึ่งตัวนำมีขนาดเล็กลงและความต้องการแผ่นกระจกที่ใสบริสุทธิ์ ระบบอัตโนมัติสำหรับโรงงานผลิตรถยนต์ในทุก ๆ กระบวนการและระบบสายพานสำหรับการขนถ่ายกระเป๋าสัมภาระที่สนามบิน Daifuku มุ่นมั่นที่จะปรับปรุงโลจิสติกส์ให้ดียิ่งขึ้นโดยการลดระยะเวลาและต้นทุน เราพร้อมนำเสนอสายพานหลากหลายประเภทได้แก่ สายพานโซ่สำหรับสินค้าที่มีน้ำหนักมาก สายพานแบบล้อหมุนสำหรับกล่อง สายพานสำหรับการรวบรวมและ สายพานลำเลียงแบบเอียง ผลิตภัณธ์ของเราสามารถปรับให้เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะตัวและความต้องการการติดตั้งตามการทำงานของลูกค้าได้อย่างลงตัว สายพานส่วนต่าง ๆ จะประกอบรวมกันเป็นระบบขนส่งที่ดีที่สุดโดยการผสานรวมกันระหว่างการจัดเก็บแบบอัตโนมัติและอุปกรณ์ทำงานภายในระบบ เช่น อุปกรณ์สำหรับการคัดแยกและหยิบจับ



ตัวอยางการทำงานของ ระบบสายพานลำเลียง 



AGV
AGV  คือ  รถขนส่งเคลื่อนที่อัตโนมัติ AGV มีหลายชนิดให้เลือกตามความเหมาะสมของการใช้งานตั้งแต่ การใช้งานแบบลากจูง container ,แบบยก container จนถึงแบบรถยก (Forklift) ในลักษณะต่างๆ โดยมีระบบควบคุมเส้นทางและนำทางการขับเคลื่อน (The Vihicle Navigation & Guidance System) ด้วยการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กที่ฝังอยู่ในพื้นผิวทางเดินรถ AGV หรือแบบควบคุมโดยการ ตรวจจับด้วยแสงเลเซอร์เพื่อให้รถ AGV สามารถเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางที่กำหนดได้
รถ AGV แต่ละชนิดรับน้ำหนักได้ต่างกันตั้งแต่ 400-1,200 กิโลกรัม หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับการใช้งานแต่ละประเภท โดยมีความเร็วในการขับเคลื่อน 1.2-1.7 เมตร ต่อวินาที
     รถ AGV ทุกคันจะติดตั้งระบบเลเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวที่ประกันได้ว่ามีระดับความปลอดภัยสูงสุด โดยติดตั้งทั้งด้านหน้าและหลังของตัวรถ และแบ่งการเตือนภัยออกเป็น 2 พื้นที่ คือ พื้นที่เตือนภัย( Warning Area)และพื้นที่หยุด (Stopping Area) กล่าวคือ ถ้ามีบุคคลเดินเข้าในเขตพื้นที่เตือนภัย รถ AGV จะลดความเร็วลงจากความเร็วสูงสุด (Maximum Speed) เป็นลักษณะแบบเคลื่อนที่ช้า (Crawling Speed) และถ้าตรวจจับได้ในพื้นที่หยุด รถ AGV จะหยุดทันที โดยระยะทางของพื้นที่เตือนและพื้นที่หยุด จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระดับความเร็วของรถ AGV  ทั้งนี้แบตเตอรี่ที่ใช้เป็นแบบ Maintenace Free สามารถใช้งานได้ติดต่อกันแบบต่อเนื่องนานถึง 8-10 ชั่วโมง โดยไม่ต้องนำแบตเตอรี่ออกจากตัวรถ




ประโยนช์ของรถ AGV 
รถ AGV power stacker 1 คัน สามารถขับเคลื่อนโดยไม่ต้องใช้พนักงานขับ จะสามารถประหยัด 
ค่าแรงคนงาน ได้ดังนี้ (ประมาณการที่ค่าแรงขั้นต่ำ300บาท และค่าสวัสดิการอื่นๆ)
ถ้าใช้งานAGV 1 กะ:วัน (8ชม.) ลดค่าใช้จ่ายแรงคนงาน 1 คน = 10,000 ฿:เดือน หรือ = 120,000฿:ปี 
ถ้าใช้งานAGV 2 กะ:วัน (16ชม.)ลดค่าใช้จ่ายแรงคนงาน 2 คน = 20,000 ฿:เดือน หรือ = 240,000฿:ปี 
ถ้าใช้งานAGV 3 กะ:วัน (24ชม.) ลดค่าใช้จ่ายแรงคนงาน 3 คน = 30,000 ฿:เดือน หรือ = 360,000฿:ปี  
ในการลงทุนปรับปรุงรถยกให้เป็นรถ AGV ประมาณเบื้องต้นว่า มีค่าใช้จ่ายราว 300,000 ฿ ต่อคัน จะสามารถคืนทุนในเวลา 
2ปี 6 เดือน ถ้าใช้งาน 1 กะ:วัน
1ปี 3 เดือน ถ้าใช้งาน 2 กะ:วัน 
เพียง 10 เดือน ถ้าใช้งาน 3 กะ:วัน 
ซึ่งถ้าลงทุนใช้รถ AGV หลายคันทางบริษัทก็จะสามารถลดค่าใช้จ่ายได้อีกเป็นอัตราเพิ่มขึ้นใน กรณีศึกษา ที่มีการใช้คนงาน 6 คน และ รถ Power stacker 3 คัน  หากมีการใช้ AGV power stacker แทน และใช้งานถึง 3 กะ ปริมาณงานที่ได้จาก รถAGV ก็จะเท่ากับ ปริมาณงานของคนงานถึง 9 คน นั่นคือผลกำไรที่ได้คืนมา ประมาณ 90,000 บาทต่อเดือน หรือ 1,080,000 บาทต่อปี  






ตัวอยางการทำงานของรถ AGV









บทที 6 หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม

บทที 6 หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม

ตัวอย่างการทำงานของหุ่นยนต์





บทที่ 5 เครื่องจักร NC CNC DNC

บทที่ 5 เครื่องจักร NC CNC DNC
เครื่องจักร NC CNC DNC
 เครื่องจักรNC ย่อมาจาก Numerical Control หมายถึงการควบคุมการทำงานของเครื่อง NC ด้วยคำสั่งเชิงตัวเลขและตัวอักษรที่ถูกสร้างขึ้นมาในรูปของคำสั่งซึ่งก็คือ โปรแกรม NC. ระบบ NC ซึ่งนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ.1950 ซึ่งส่วนมากจะถูกนำมาใช้ในการควบคุมการทำงานของเครื่องมือกลเป็นส่วนใหญ่.

ในปัจจุบันระบบ NC จะถูกแทนที่ด้วยระบบ NC เกือบทั้งหมด ทั้งนี้เนื่องจากว่าในระบบ NC ไม่มีคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วยในการทำงาน อีกทั้งเครื่องจักรที่ถูกควบคุมด้วย NC ก็ไม่มีการผลิตออกมาใช้งานแล้ว.

ระบบ NC มีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ
       1.ชุดคำสั่ง (Programmed)
คือคำสั่งในแต่ละขั้นตอนเพื่อกำหนดให้เครื่องจักร NC ทำงานตามที่เราต้องการ โดยที่ชุดคำสั่งนี้จะถูกสร้างขึ้นในลักษณะของตัวเลข ตัวอักษรสัญลักษณฺ์ต่างๆ แล้วเก็บไว้ในเทปกระดาษที่เจาะรู เมื่อจะนำไปใช้งานก็จะใช้เครื่องอ่านเทปเพื่อแปลรหัสคำสั่งให้ทำงานตามขั้นตอน.
       2.หน่วยควบคุมการทำงานของเครื่องหรือเอ็มซียู (MCU : Machine Control Unit)

คือส่วนที่ทำหน้าที่อ่านและตีความหมายของคำสั่งเพื่อแยกคำสั่งออกเป็นสัญญาณไปควบคุมเครื่องจักรต่อไป ประกอบไปด้วยเครื่องอ่านเทปช่องส่งสัญญาณควบคุม(Control Output Signal) ระบบการตรวจสอบแล้วส่งผลย้อนกลับ(Feedback Transducer) และแผงควบคุม(Control Panel) สำหรับควบคุมการเปิด/ปิดเครื่องจักร NC
      3.เครื่องจักร NC(NC Machine Tool)
เป็นส่วนที่ใช้ในการขึ้นรูปชิ้นงานตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่เราเขียนขึ้น






                                         


เครื่อง CNC=Computer Numerical Control
เป็นเครื่องจักรกลอัติโนมัติที่ทำงานโดยการโปรแกรมเข้าไปด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะให้มันทำงานตามแบบที่เราโปรแกรมเข้าไป มีหลายภาษาที่ใช้กับเครื่อง โดยมากจะเป็นงานโลหะที่มีความซับซ้อนและต้องการความแม่นยำสูง โดยที่การหล่อไม่สามารถทำได้หรือสามารถทำได้ก็ตาม

        เครื่องจักรกลพื้นฐานเช่น เครื่องกลึง เครื่องกัด เครื่องเจียรนัย และเครื่องตัดโลหะแผ่นเป็นเครื่องจักรกลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักร เครื่องยนต์ และแม่พิมพ์ ตลอดจนหน่วยงานสร้าง – ซ่อมงานโลหะโดยทั่วไป และอาจกล่าวได้ว่าความก้าวหน้าของเครื่องจักรกลประสิทธิภาพสูงหลายประเภทในยุคปัจจุบันล้วนแต่มีรากฐานมาจากเครื่องจักรพื้นฐานเหล่านี้ทั้งสิ้น รูปที่ 1 แสดงการทำงานของเครื่องกลึงที่ใช้แรงงานคนในการหมุนเกลียวขับเพื่อป้อนมีดกลึงเข้าหาชิ้นงาน ผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องกลึงหรือเครื่องจักรกลพื้นฐานอื่นๆ จะต้องมีทักษะและความชำนาญในการหมุนเกลียวขับที่ใช้ในการป้อนอุปกรณ์ตัดเข้าหาชิ้นงานเป็นอย่างดี แต่ถึงกระนั้นพบได้บ่อยว่าผู้ปฏิบัติงานต้องใช้เวลามากในการผลิตชิ้นงานที่มีความละเอียดสูง เนื่องจากข้อจำกัดด้านการมองเห็นของผู้ปฏิบัติงาน และความคลาดเคลื่อนเนื่องจากการวัดที่ต้องทำบ่อยครั้ง ในบางครั้งยังพบว่าชิ้นงานที่ได้มีความคลาดเคลื่อนทางขนาดเกินกว่าที่จะยอมรับได้


         ระบบ CNC (Computer Numerical Control) เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกสร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อเปลี่ยนแปลงและควบคุมสภาพการทำงานของเครื่องจักรกลพื้นฐานดังกล่าวจากเดิมซึ่งใช้แรงงานคนในการทำงานร่วมกับเครื่องจักร ให้เครื่องจักรเหล่านี้สามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติด้วยตัวเอง นอกจากนี้ ระบบ CNC ยังช่วยเพิ่มความสามารถให้เครื่องจักรพื้นฐานเหล่านี้สามารถทำงานลักษณะซับซ้อนได้ด้วยความรวดเร็วและแม่นยำในระดับที่พ้นความสามารถในการรับรู้ของมนุษย์โดยทั่วไปหลายสิบเท่าตัว สำหรับการประยุกต์ใช้ระบบ CNC ในเครื่องจักรพื้นฐานดังกล่าว ระบบ CNC จะประกอบไปด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าจำนวนหนึ่งซึ่งถูกนำไปใช้ในการหมุนเกลียวขับแทนมือคน และระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งใช้ในการควบคุมมุมและความเร็วที่มอเตอร์ไฟฟ้าเหล่านั้นหมุนเกลียวขับ โดยระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าวสามารถควบคุมมุมของมอเตอร์ได้ด้วยความละเอียดถึง 0.1 องศาหรือดีกว่า หรือสามารถให้ความละเอียดในการป้อนอุปกรณ์ตัดเข้าสู่ชิ้นงานสูงถึง 0.02 มม หรือดีกว่า


ในปัจจุบัน มีการใช้ระบบ CNC สำหรับเครื่องจักรพื้นฐานในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรกล เครื่องยนต์ แม่พิมพ์ และในหน่วยงานสร้าง – ซ่อมอย่างแพร่หลาย หากประมาณคร่าวๆ มูลค่าเบื้องต้นของระบบ CNC ในอุตสาหกรรมเหล่านี้อยู่ในระดับหลายพันล้านบาท ในทางปฏิบัติระบบ CNC ดังกล่าวและผู้เชี่ยวชาญในระบบดังกล่าวถูกนำเข้าจากประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมัน และ ญี่ปุ่น เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจาก CNC ดังกล่าวเป็นเทคโนโลยีระดับสูงที่ยากต่อการออกแบบและการทำความเข้าใจจนสามารถนำมาใช้งานได้จริง อย่างไรก็ตาม ดร.พินิจ งามสม ได้ใช้เวลากว่า 4 ปีในการวิจัย ออกแบบ และพัฒนา จนประสบผลสำเร็จในการสร้างระบบ CNC ที่ใช้งานได้จริง โดยงานวิจัยที่เป็นรากฐานของผลงานนี้ได้รับการพิจารณาให้เป็นบทความดีเด่นสาขา Dynamics, Systems, and Control ในการประชุมเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2545 และได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับสากลที่มีความแข็งแกร่งทางวิชาการมากที่สุดเล่มหนึ่ง คือ Journal of Dynamic System, Measurement, and Control โดย American Society of Mechanical Engineers ในปี พ.ศ. 2546



       ระบบ CNC ที่สร้างขึ้นนี้สามารถควบคุมมุม ความเร็ว และแรงบิดในการหมุนของมอเตอร์ไฟฟ้าภายใต้ความไม่แน่นอนของภาระงานและคุณสมบัติภายในได้ 4 ตัวพร้อมกัน (ขยายได้เป็น 8 ตัวเพื่อการควบคุมแขนกลลักษณะต่างๆ) โดยใช้มาตรฐานรหัส G และ M ในการสั่งการ ระบบสามารถแสดงความก้าวหน้าของการทำงานได้ทั้งในเชิงต้วเลขและเชิงรูปภาพบนจอคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยนพารามิเตอร์ของระบบควบคุมให้เข้ากับการใช้งานควบคุมเครื่องจักรได้หลากหลายรูปแบบ เช่น เครื่องกัด, เครื่องกลึง, แขนกล, เครื่องตัดพลาสม่า, เครื่องลอกพื้นผิว, และเครื่องพับโลหะ เป็นต้น ในการทดสอบ ระบบ CNC ที่สร้างขึ้น ถูกนำไปใช้ในการควบคุมเครื่องกัดที่ทำงานในสามมิติโดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงจำนวน 4 ตัว ซึ่งในจำนวนนี้ มอเตอร์ 3 ตัวถูกใช้ไปในการป้อนชิ้นงานและดอกกัดในแนว X, Y, และ Z ส่วนมอเตอร์อีกหนึ่งตัวใช้ในการหมุนดอกกัดชิ้นงาน ระบบ CNC ที่ออกแบบและสร้างขึ้นนี้สามารถควบคุมให้เครื่องกัดทำงานได้โดยอัตโนมัติตามโปรแกรมที่ตั้งไว้ ด้วยความละเอียด 0.02 มม (ถูกจำกัดด้วยระยะคลอนของเกลียวขับที่ใช้อยู่) หลังจากการพัฒนาระบบ CNC ต้นแบบเสร็จสิ้นลง ในปัจจุบันระบบ CNC ดังกล่าวมีต้นทุนในการสร้างประมาณ ุุ60,000 บาทต่อเครื่อง
                                   
เครื่อง DNC Distribution Numerical Control: DNC SYSTEM คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์กลางในการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนและกระจายข้อมูลซึ่งในที่นี้คือ โปรแกรม NC Data กับหน่วยควบคุม NC ของเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละตัวได้เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริการข้อมูลทั้งรับข้อมูล และส่งข้อมูลจำเพราะให้กับเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละเครื่องในเครือข่ายตามที่แต่ละเครื่องต้องการพร้อมๆ กันได้ในเวลาเดียวกัน

        SUPER-DNC SOFTWARE คือ โปรแกรมควบคุมระบบ DNC ที่มีความทันสมัย มีสเถียรภาพและสามารถสื่อสารกับเครื่องจักรกลระบบ CNC ได้หลากหลายรุ่นและหลายยี่ห้อ ทั้งเครื่องที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดหรือเครื่องเก่าที่มีอายุใช้งานและถูกสร้างขึ้นมานานนับ 10 ปีแล้วก็ตาม
SUPER-DNC ทำให้โรงงานไม่ว่าจะเป็นงานผลิตแม่พิมพ์ Mould, DIE, Punch Die หรือ Part Production ก็ตาม สามารถใช้เครื่องจักร และ NC Data ซึ่งเป็นทรัพย์สินอันมีค่าของโรงงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่โรงงานและองค์กร สร้างความสามารถในการแข่งขันให้แก่องค์กรได้เป็นอย่างดี และยังทำให้พนักงานทำงานได้สะดวกขึ้นเป็นการเสริมขวัญและกำลังใจพนักงานให้มีความรักองค์กรและมุ่งมั่นในการสร้างผลงานที่ดีแก่องค์กรอีกด้วย
คุณลักษณะมาตรฐาน Standard Features of SUPER-DNC System
       1. การเรียกโปรแกรม NC Data ที่ต้องการ โดยรับส่งโดยตรงระหว่างเครื่องจักรกลระบบ CNC กับคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ (SUB Program Calling) โดยการเรียกโดยตรงที่หน้าเครื่องจักรกลระบบ CNC
       2. การให้บริการกระจายข้อมูลโปรแกรม NC Data ในแบบเครื่องข่ายโดยมี Server เป็นศูนย์กลางการติดต่อรับส่งข้อมูลโปรแกรม NC Data กับเครื่องจักรกลระบบ CNC ทุกเครื่องในเครือข่าย โดยมีสถานี Client Station ซึ่งเป็นสถานี Generate (สร้าง) หรือ INPUT หรือ EDIT ข้อมูลโปรแกรม NC Data เพื่อส่งเข้าสู่ Server กลางได้ (Client – Server Configuration System)
       3. การเริ่มกัดงานใหม่ต่อจากการกัดที่หยุดค้างไว้เดิม (Start Cutting from any program line) กรณีที่มีการหยุดกัดงานกลางคัน เช่น Tool สึกหรือ Tool แตก จำเป็นต้องหยุดค้างโปรแกรมไว้เพื่อเปลี่ยน Tool ใหม่ จากนั้น Software SUPER-DNC สามารถส่งต่อข้อมูลโปรแกรม NC Data ในบรรทัดต่อไปได้ โดยไม่ต้องเริ่มงานใหม่ทั้งหมด
       4. สามารถกำหนด Protocols พิเศษต่างๆ (เครื่องจักรเก่าๆ หรือที่ไม่แพร่หลายในตลาด) โปรแกรม SUPER-DNC สามารถติดต่อกับเครื่องจักรกลระบบ CNC ที่มี Protocol ที่แตกต่างกันได้อย่างหลากหลายและกว้างขวาง (Special Protocols for CNC Machines)
       5. การทำงานแบบ Auto-Search สำหรับส่ง Sub Programs หลายๆ โปรแกรมเรียงไปตามลำดับไปยังเครื่องจักรเป้าหมาย
       6. OPTION การแจ้งเตือนโดยอัตโนมัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆ (Notify User for Events such as cutting finish) เช่น เมื่อกัดงานเสร็จแล้ว หรือเกิดการหยุดกัดงานโดยไม่คาดคิด SUPER-DNC สามารถติดต่อด้วย Special GPRS Data modem เพื่อส่งแจ้งเตือนไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile phone) ด้วย E-mail หรือ SMS Message ของผู้ใช้ได้โดยอัตโนมัติเพื่อให้ผู้ใช้ทราบและดำเนินการต่อไปได้



บทความทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร

บทความทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร

บทความทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร
บทความเกี่ยวกับเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล

เทคโนโลยีการสื่อสาร
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
                   ตามพจนานุกรม  ฉบับราชบัณฑิตยสถาน  ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2542 ได้ให้ความหมายของคำต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  ดังนี้
                   เทคโนโลยี หมายถึงวิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
                สารสนเทศ  หมายถึง  ข่าวสาร  การแสดงหรือชี้แจงข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ
               ข้อมูล  หมายถึง  ข้อเท็จจริง  หรือสิ่งที่ยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง
               การสื่อสาร หมายถึง การนำสื่อหรือข้อความของฝ่ายหนึ่งส่งให้อีกฝ่ายหนึ่ง  ประกอบด้วยผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร ช่องทางการส่งข้อมูล ซึ่งเป็นสื่อกลางหรือตัวกลางอาจเป็นสายสัญญาณ และหน่วยรับข้อมูลหรือผู้รับสาร
                   จากความหมายดังกล่าว  สามารถกล่าวขยายอธิบายเพิ่มเติมได้  คือ
                   เทคโนโลยี (Technology) มีความหมายมาจากคำ 2 คำ คือเทคนิค (Technique) ซึ่งหมายถึง  วิธีการที่มีการพัฒนาและสามารถนำไปใช้ได้ และคำว่า ลอจิก (Logic) ซึ่งหมายถึงวิธีการปฏิบัติที่มีการจัดลำดับอย่างมีรูปแบบและขั้นตอนเพื่อที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในเรื่องความเร็ว (Speed) ความน่าเชื่อถือ (Reliably) และความถูกต้อง  ซึ่งคุณสมบัติที่กล่าวถึงนี้มีอยู่อย่างครบถ้วนในเครื่องคอมพิวเตอร์
       อย่างไรก็ตาม  ความหมายของคำว่าเทคโนโลยี  ไม่ได้หมายถึงแต่เพียงคอมพิวเตอร์เท่านั้นเพราะเทคโนโลยีที่เราพบเห็นยังมีอีกหลายอย่าง เช่น เทคโนโลยีด้านการสื่อสาร  และ โทรคมนาคมเทคโนโลยีเครือข่าย  เทคโนโลยีสำหรับการผลิต  การจัดการในงานธุรกิจและงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
       เทคโนโลยี  ในความหมายของคำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารก็คือ  เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยประมวลผลข้อมูลให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ  โดยระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบหลักที่สำคัญคือ ฮาร์ดแวร์  หรือตัวเครื่องและอุปกรณ์รอบข้าง  ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรม  และผู้ทำงานที่ต้องการทำงานอย่างสัมพันธ์กัน
                   การสื่อสาร (Communication)  แต่เดิมมักได้ยินแต่คำว่า IT  หรือ Information Technology  เท่านั้นต่อมาได้นำตัว C หรือ Communication เข้ามาร่วมด้วย  เนื่องจากเทคโนโลยีการสื่อสารได้พัฒนาอย่างมาก  และสามารถที่จะนำสื่อสารในเทคโนโลยีได้
                   การสื่อสารครอบคลุมประเด็นในเรื่ององค์ประกอบ  3  ส่วน ได้แก่  ผู้ส่งสาร ช่องทางการสื่อสาร และผู้รับสาร และมีระบบการสื่อสาร 2 ประเภท คือ ประเภทมีสาย  และประเภทไม่มีสายหรือไร้สาย  เทคโนโลยีการ
สื่อสาร  ได้แก่  อินเทอร์เน็ต  โดยเฉพาะบริการเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web)  หรือ  (web)
                   จึงกล่าวได้ว่า  เทคโนโลยีสารสนเทศ  หมายถึง  "วิทยาการต่างๆ  ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลข่าวสารของฝ่ายหนึ่งส่งให้อีกฝ่ายหนึ่ง"   กล่าวคือ  เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง  กับการจัดการสารสนเทศ  ที่อาศัยเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์  และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมเป็นหลัก  ตั้งแต่การรวบรวม  การจัดเก็บข้อมูล  การประมวลผล  การพิมพ์  การสร้างรายงาน  การสื่อสารข้อมูล  ฯลฯ  เพื่อให้ได้สารสนเทศไว้ใช้งานได้อย่างทันเหตุการณ์ก่อให้เกิดประสิทธิภาพทั้งในด้านการผลิต  การบริการ  การบริหารและ การดำเนินงานต่าง ๆ   รวมทั้งเพื่อการศึกษา และการเรียนรู้   ซึ่งจะส่งผลต่อความได้เปรียบทางด้านเศรษฐกิจ  การค้า  และการพัฒนาคุณภาพชีวิต  และคุณภาพของประชาชนในสังคม
                   ปัจจุบันเทคโนโลยีถูกนำมาใช้ในทุกวงการ  เช่น  นำมาใช้ในวงการแพทย์  เรียกว่า  เทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Technology) นำมาใช้ทาง การเกษตร เรียกว่า เทคโนโลยีทางการเกษตร (AgriculturalTechnology)  นำมาใช้ทางการอุตสาหกรรม เรียกว่า เทคโนโลยีทางอุตสาหกรรม (Industrial Technology)นำมาใช้ทางการสื่อสาร เรียกว่า เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology) และนำมาใช้ในวงการอื่น ๆ อีกมากมาย รวมทั้งนำมาใช้ในวงการศึกษา ที่เรียกว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) เทคโนโลยีการสื่อสาร หมายถึง เทคโนโลยีในการสื่อสารยุคใหม่ 4 กลุ่ม ได้แก่
                   1. เทคโนโลยีการแพร่ภาพและเสียง (Broadcast and Motion Picture Technology)
                   2. เทคโนโลยีการพิมพ์ (Print and Publishing Technology)
                   3. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (Computer Technology)
               4. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication Technology)
                   บทบาทของเทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบัน เช่น คอมพิวเตอร์  ดาวเทียมเพื่อการสื่อสาร  โครงข่าย
โทรศัพท์ อุปกรณ์ ภาพและเสียง มีผลกระทบต่อ "สื่อแบบดั้งเดิม" (Traditional Media) ซึ่งได้แก่หนังสือพิมพ์นิตยสาร วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ทำให้  เกิดสิ่งที่เรียกว่า  " การปฏิวัติแห่งระบบตัวเลข"   (DigitalRevolution)  ทำให้ข้อมูลข่าวสารไม่ว่าจะอยู่ในรูปลักษณ์ใด เช่น ข้อความเสียงภาพเคลื่อนไหวรูปภาพ หรืองานกราฟิก ได้รับการปรับเปลี่ยนให้เป็นภาษาอีกชนิดหนึ่งเป็นรูปแบบเดียวกันทั้งหมด  คือสามารถอ่านและส่งผ่านได้อย่างรวดเร็วด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วยังสามารถนำเสนอในลักษณะใดก็ได้ตามความต้องการใช้งาน ของผู้ใช้งาน ความเปลี่ยนแปลงนี้ถูกเรียกขานว่า "การทำให้เป็นระบบตัวเลข" หรือ"ดิจิไทเซชั่น" (Digitization) ด้วยระบบที่มีการทำให้เป็นระบบตัวเลข เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิด "สื่อใหม่" (New Media) ขึ้น เป็นสื่อที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกับระบบตัวเลข เครื่องคอมพิวเตอร์ และระบบการสะท้อนกลับ หรือ "อินเตอร์ แอคทีฟ"(Interactive)
                   เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology)  คือเทคโนโลยีดิจิตัล (Digital Technology)
ประเภทหนึ่งซึ่งได้พัฒนาตัวเพื่อเอื้อต่อการจัดการ  “การสื่อสาร(Communication)” หรือ “การขนส่งข่าวสาร(Transfer of Information)”  เทคโนโลยีการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นทางด้านภาพ (Image) เสียง (Voice)  หรือทางด้านข้อมูล (Data) ได้รับการพัฒนาจนมนุษย์ สามารถเชื่อมโยงติดต่อกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว  และเป็นเครือข่ายที่ติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลก  เป็นยุคของสารสนเทศ (Information Age) และเป็นสังคมสาร- สนเทศ(Information Society) ที่นับวันจะมีอัตราการเติบโตขึ้นทุกที่ทั้งในด้านขนาดและปริมาณข่าวสารที่ไหลเวียนอยู่ในสังคม (ธวัชชัย พานิชยกรณ์, 2539)
ความหมายของเทคโนโลยีการสื่อสาร
                   เมื่อเอ่ยถึงเทคโนโลยีการสื่อสาร คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงสิ่งที่เกี่ยวกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใหม่ ๆที่ทันสมัย  มีราคาแพง มีระบบการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อนซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วสามารถช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพดีขึ้น และประสิทธิผลสูงขึ้น รวมทั้งประหยัดเวลาและแรงงานอีกด้วย อย่างไร ก็ตาม“เทคโนโลยี”เป็นคำที่มาจากภาษาลาติน และภาษากรีก คือ ภาษาลาติน Texere : การสาน (to weare) : การสร้าง (to construct)ภาษากรีก Technologia : การกระทำอย่างมีระบบ (Systematic Treatment)
                   เทคโนโลยีมิได้มีความหมายเฉพาะการใช้เครื่องจักรกลอย่างเดียวเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงการปฏิบัติหรือดำเนินการใด ๆ ที่ใช้ความรู้ วิธีการ หรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยให้การดำเนินการต่าง ๆ บรรลุผลพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่า หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะ ในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
                  ลักษณะของเทคโนโลยีสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ (Heinich , Molenda and Russell.
1993 : 449)
                         1. เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ ( process) เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ หรือความรู้ต่าง ๆ  ที่ได้รวบรวมไว้  เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ  โดยเชื่อว่าเป็นกระบวนการที่เชื่อถือได้และนำไปสู่การแก้ปัญหาต่าง ๆ
                         2. เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต (product) หมายถึง วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี
                        3. เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (process and product)   เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทำงานเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม
                   สารานุกรมเอ็นคาร์ทา (Encarta 1999) ได้ให้ที่มาและความหมายของคำว่า เทคโนโลยี (Technology)ไว้ว่า Technology เป็นคำที่มาจากภาษากรีก 2 คำรวมกัน คือ Tekhne หมายถึง ศิลป หรืองานช่างฝีมือ (art of
craft) และ logia หมายถึง สาขาวิชาของการศึกษา (art of study) ดังนั้นถ้าจะแปลตามตัวแล้ว เทคโนโลยี จึง
หมายถึง การศึกษาหรือศาสตร์ของงานช่างฝีมือ
                   พจนานุกรมเว็บสเทอร์ (Websters 1994) ได้ให้ความหมายของคำว่า เทคโนโลยี ไว้ดังนี้
                         1)  การใช้ทางวิทยาศาสร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านอุตสาหกรรมและพานิชกรรม
                         2) องค์รวมทั้งหมดของวิธีการและวัสดุที่ใช้เพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
                         3) องค์ความรู้ที่มีอยู่ในอารยธรรมเพื่อใช้ในการเพิ่มพูน ฝึกหัดด้านศิลปะและทักษะความชำนาญ
เพื่อให้ได้มาซึ่งวัสดุ
                    บราวน์ (Brown) กล่าวว่า เทคโนโลยีเป็นการนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้บังเกิดผลประโยชน์
                   เดล (Dale 1969) ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีประกอบด้วยผลรวมของการทดลอง เครื่องมือ และ
กระบวนการ ซึ่งสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เกิดจากการเรียนรู้ ทดลอง และได้รับการปรับปรุงแก้ไขมาแล้วกล่าวอีกนัยหนึ่ง เทคโนโลยี หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการผลิต การสร้าง และการใช้สิ่งของกระบวนการ หรืออุปกรณ์ที่ไม่ได้มีในธรรมชาตินั่นเอง
                   สุพิทย์ กาญจนพันธุ์ (2541) หมายถึงวิธีการอย่างมีระบบในการวางแผน การประยุกต์ใช้ และการ
ประเมินกระบวนการเรียนการสอนทั้งระบบ โดยให้ความสำคัญต่อทั้งด้านเครื่องมือ ทรัพยากรมนุษย์ และ
ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างมนุษย์กับเครื่องมือ เพื่อจะได้รูปแบบการศึกษาที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ใน
ความหมายนี้ เทคโนโลยีการศึกษาใช้การวิเคราะห์ระบบเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน
                   เสาวนีย์ สิกขาบัณฑิต (2528) กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีคือวิธีการหรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการ
ดำเนินการต่างๆเพื่อให้บรรลุผล และจากความหมายดังกล่าวข้างต้นพอจะสรุปได้ว่า
                   เทคโนโลยี  เป็นการนำเอาแนวความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจน
ผลผลิตทางวิทยาศาสตร์  ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์ และวิธีปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในระบบงาน  เพื่อช่วยให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น
การนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานในสาขาใดสาขาหนึ่งนั้น เทคโนโลยีจะมีส่วนช่วยสำคัญ 3 ประการ และถือเป็น
เกณฑ์ในการพิจารณานำเทคโนโลยีมาใช้ด้วย (ก่อ สวัสดิพาณิชย์ 2517 : 84)  คือ
                         1. ประสิทธิภาพ ( Efficiency ) เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายได้อย่าง
เที่ยงตรงและรวดเร็ว
                         2. ประสิทธิผล ( Productivity ) เป็นการทำงานเพื่อให้ได้ผลผลิตออกมาอย่างเต็มที่มากที่สุดเท่าที่
จะมากได้ เพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด
                         3. ประหยัด ( Economy ) เป็นการประหยัดทั้งเวลาและแรงงานในการทำงานด้วยการลงทุนน้อยแต่
ได้ผลมากกว่าที่ลงทุนไป

ข้อดีของเทคโนโลยีการสื่อสาร
1. การสื่อสารและโทรคมนาคมนั้น ส่งผลต่อระบบสังคมการเมื่องในแง่ของการเพิ่มช่องทางเลือกในการรับรู้ข่าวสารของประชาชนให้มากขึ้น ส่วนในระดับปัจเจกบุคคลนั้นพัฒนาการของเทคโนโลยี การสื่อสารทำให้เกิดการเรียนรู้ เกิดทัศนคติ ตลอดจนจิตสำนึกทางการเมืองในเรื่องใดเรื่องหนึ่งร่วมกันโดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องพรมแดน รัฐบาลและอำนาจอธิปไตยอีกต่อไป
2. การขยายตัวของการสื่อสารและโทรคมนาคมได้มีอิทธิพลที่สร้างผลต่อสังคมไทยทั้งในทางตรงและทางอ้อม อันเนื่องมาจากการหลั่งไหลของ "ทุนนิยมสมัยใหม่" ที่เกิดขึ้นทั่วโลกส่งผลให้ทุนนิยมโลก การค้าระหว่างประเทศ หรือธุรกิจข้ามชาติเข้ามามีบทบาทต่อการเมืองไทย เกิด "การหลั่งไหลของทุนและข้อมูลข่าวสาร" เข้าสู่ทุกส่วนของประเทศไทย
3. การสื่อสารโทรคมนาคมมีความสะดวกติดต่อกันง่านขึ้นจึงส่งผลให้การรับรู้ข่าวสารมีความรวดเร็ว และมีลักษณะคล้ายคลึงกันทั่วโลก หรือเกิดเป็นลักษณะ "หมู่บ้านโลก" (global village) และ "วัฒนธรรมโลก" (global culture) ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งทางวัฒนธรรม อันเนื่องมาจากสื่อสารที่รวดเร็วเสมือนอยู่ในชุมหรือประเทศเดียวกัน ทำให้เกิดการส่งผ่านวัฒนธรรมผ่านสื่อทันสมัยในยุคโลกาภิวัตน์ จากประเทศตะวันตกที่มีพื้นฐานทางวัฒนธรรมแตกต่างกับสังคมไทย ทัศนคติและค่านิยมสมัยใหม่แบบตะวันตกจะหลั่งไหลเข้าสู่สังคมไทยที่ยังคงมีทัศนคติ ค่านิยมและวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมอยู่ จึงเกิดความขัดแย้งทางวัฒนธรรมนำมาซึ่งปัญหาสังคมต่างๆ มากมาย
   
ข้อเสียของเทคโนโลยีการสื่อสาร
      ผลกระทบที่เกิดจากเทคโนโลยีการสื่อสาร และโทรคมนาคาที่เกิดขึ้นในทางลบมีหลายประการ เช่น ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ อาชญากรรมบนอินเตอร์เนต  การแพร่ภาพอนาจารย์บนเครือข่าย การแพร่กระจายของข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล พฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตของเยาวชน  การพนันบนเครือข่าย การพาณิชย์ที่ขัดต่อกฏหมายและศิลธรรม ปัญหาบุคลากรสาขาวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเริ่มเข้ามามีบทบาทต่อการอยู่ร่วมกันในสังคม ปัญหาอาชญากรรมชนิดใหม่ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเริ่มจะสร้างปัญหาให้แก่สังคมโดยรวม จนรัฐบาลของประชาชนที่เกิดจากอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
2. ธุรกิจที่ทำภายใต้เทคโนโลยีสารสนเทศและอาศัยเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ขัดต่อศิลธรรมและจริยธรรมมีมากมาย ทั้งที่ผิดศิลธรรมชัดเจน และที่อยู่ในข่ายหลอกลวงให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ธุรกิจเหล่านี้มาในรูปแบบหนึ่งของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
3. ปัจจุบันการจัดเก็บข้อมูลในระบบออนไลน์ช่วยให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลมักจัดทำเพื่อประโยชน์ในกิจกรรมของนิติบุคคล หรือการให้บริการของหน่วยต่างๆ ซึ่งผู้ใช้บริการมักเข้าใจว่าข้อมูลส่วนบุคคลที่ให้ไว้นั้นจะไม่ถูกนำไปเผยแพร่หรือนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ แต่ในความเป็นจริงข้อมูลเหล่านี้อาจถูกละเมิดได้ โดยที่เจ้าของข้อมูลอาจรู้เลยก็ได้
4. อินเทอร์เน็ตนั้นมิได้มีแต่ประโยชน์เพียงด้านเดียว เป็นที่ยอมรับกันว่าความไร้ขอบเขตของการออนไลน์ทำให้เกิดผลในทางลบหลายๆ ประการ ที่เห็นได้ชัดคือปัญหาสื่อลามกอนาจาร การล่อลวง เกมออนไลน์ เป็นต้น ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยเหล่านี้มักเป็นกลุ่มเด็กและวัยรุ่น ซึ่งขาดความรู้ ความเข้าใจ และความระมัดระวังตัวในการออนไลน์หรือการใช้เทคโนโลยีดังกล่าว

10.8.62

รายชื่อสนมาชิกห้องการจัดการ

ชื่อ-สกุล                                                                                    ชื่อเล่น
อาจารย์ ธภัทร  ชัยชูโชค                                                             อาจารย์ ปาล์ม
นางสาว กนกพร  อิสสะโร                                                            กิ๊ฟ
นางสาว กัญญาณัฐ  หนูแก้ว                                                        มีน
นาย เกียรติศักดิ์  พลูสวัสดิ์                                                           ต้น
นาย จักเรศ  เจริญผล                                                                   จักร
นางสาว จิรนันท์  ม้องพร้า                                                            กิม
นางสาว เจนจิรา   แก้วมุณี                                                           เจน
นาย ชลธวัช   นัคราบัณทิต                                                          เบน
นาย ชูเกียรติ  กาโร                                                                      ธันวา
นาย ณรงค์กร   หนูนแสน                                                             น็อต
นางสาว ณัชชา  ชำนาญ                                                                ฟาง
นาย ณัฐพล  โตอุ่นเพ็ชร                                                               แด็ก
นาย ธนายุทธิ์  พงศ์สิริวรกุล                                                         ไอซ์
นางสาว ธัญญสรณ์  แก้วเกลี้ยง                                                   เฟิร์น
นางสาว นลัทพร  ทองใหญ่                                                           เก๊น
นาย นิติพัฒน์  สุขเกิด                                                                  แบงค์
นางสาว พัชรีสานส์  ชาลีเคลือ                                                      แก้ม
นางสาว ภัทรภรณ์  อภินันสวัสดิ์                                                  แนท
นางสาว มณีนุช   มุงคุณแสน                                                        นุช
นางสาว  ยุวดา  ชูแก้ว                                                                  กิ๊ก
นาย วรพงศ์  ชุมประยูร                                                                 เก่ง
นาย  วิชชากร    ชิตเชี่ยว                                                             กิ๊บ
นาย วุฒิกร  สุนทรภักดี                                                                ทิว
นาย ศักดา  สนละ                                                                        บี
นาย สุชาติ  ตระกูลไชยพฤกษ์                                                   เล็ก
นาย เสกสรรค์  เสริมศิลป์                                                            บ่าว
นางสาว  หาสนี  สาเม๊าะ                                                            บะห์
นาย อรรถนนท์   นนทพันธ์                                                           โจ้
นางสาว อัจฉราภรณ์  เต็มราม                                                     แอน
นางสาว พัชยา  แซ่ลิ่ม                                                                ก้อย
ดการสนทนาผ่านแชท

ประวัติ ส่วนตัว

ประวัติส่วนตัว
ชื่อ: นาย  สหรัตน์  ขวัญสุด
รหัสนักศึกษา:  605705031
เบอร์โทร: 082-4366514
Faceebook : สหรัตน์  ขวัญสุด
Line ID:  082-4366514